การจำแนกประเภทกฎหมายการศึกษา
กฎหมายการศึกษาไทย สามารถจำแนกเป็นประเภทได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการจำแนก กล่าวคือ หากจำแนกตามศักดิ์ของกฎหมายสามารถแบ่งประเภทออกเป็น
1) กฎหมายแม่บท ได้แก่ รัฐธรรมนูญ
2) กฎหมายลูกบท ได้แก่ กฎหมายที่ออกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
หากจำแนกตามลักษณะการออกกฎหมาย สามารถแบ่งประเภทออกเป็น
1) กฎหมายหลัก ได้แก่ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติต่างๆ
2) กฎหมายรอง ได้แก่ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร ซึ่งอาศัยอำนาจตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายหลัก ประกอบด้วย กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นต้น

ในที่นี้จะขอจำแนกประเภทตามลักษณะสาระสำคัญของกฎหมาย ซึ่งสามารถแบ่งกฎหมายการศึกษาออกเป็น ๕ ประเภท ดังนี้
1. กฎหมายแม่บททางการศึกษา ได้แก่ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่ให้อำนาจในการออกกฎหมายการศึกษาอื่นๆ ได้แก่
1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
1.2 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545
1.3 พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545
2. กฎหมายว่าด้วยการจัดการโครงสร้างและการบริหารจัดการทางการศึกษา ได้แก่
2.1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และกฎกระทรวง ระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
2.2 พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษาเฉพาะด้าน เช่น พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 เป็นต้น
2.3 พระราชบัญญัติจัดตั้งสถานศึกษาเป็นการเฉพาะแห่ง เช่น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นต้น
3. กฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 และกฎกระทรวง ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้

4. กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลทางการศึกษา ได้แก่

4.1 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

4.2 พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547

4.3 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547

4.4 พระราชกฤษฎีกา การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550

5. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษา ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาที่ผู้บริหารการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจะต้องนำมาใช้ประกอบการดำเนินงาน กล่าวคือ

5.1 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

5.2 พระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

5.3 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2550

5.4 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

5.5 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542

5.6 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

การบังคับใช้กฎหมายการศึกษา
การใช้กฎหมาย (Application of Law) มีความหมายสองประการ คือ
1) การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี เป็นการนำกฎหมายไปใช้แก่บุคคลในเวลาและสถานที่หรือตามเหตุการณ์หรือเงื่อนไข ในเวลาหนึ่งๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ
2) การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ เป็นการนำกฎหมายไปปรับใช้แก่คดี หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจง เพื่อหาคำตอบหรือเพื่อวินิจฉัยพฤติกรรมของบุคคลหนึ่งในเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเรียกว่าการปรับใช้บทกฎหมาย การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพราะอาจตีความผิด หรือนำเอาบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นมาใช้ โดยลืมนึกถึงส่วนที่เป็นหลักเมืองหรือนำเอาส่วนที่เป็นหลักมาใช้ โดยไม่รู้ว่าเป็นข้อยกเว้น (วิษณุ เครืองาม, 2538)

อย่างไรก็ตามนักบริหารการศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบดำเนินงานให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จะต้องเลือกใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ ซึ่งมีแนวทางพอสรุปได้ ดังนี้

1. ผู้บริหารการศึกษาต้องรู้กฎหมายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตน เข้าใจ และสามารถปรับกฎหมายใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
2. ผู้บริหารการศึกษาต้องมีความสุจริตในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นเจตนาที่ดีในการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดไว้
3. ผู้บริหารการศึกษาต้องถือกฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารงานไปสู่ความสำเร็จ กฎหมายไม่ใช่สิ่งขัดขวางการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาจะต้องเฉลียวฉลาด และมีไหวพริบเพียงพอที่จะใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารและจัดการศึกษาให้ได้

การใช้กฎหมายในการบริหารและจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีความรอบรู้ และเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ มีความสุจริตและมีไหวพริบที่จะใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์อย่างแท้จริง

การบังคับใช้กฎหมายการศึกษา
การใช้กฎหมาย (Application of Law) มีความหมายสองประการ คือ
1) การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี เป็นการนำกฎหมายไปใช้แก่บุคคลในเวลาและสถานที่หรือตามเหตุการณ์หรือเงื่อนไข ในเวลาหนึ่งๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ
2) การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ เป็นการนำกฎหมายไปปรับใช้แก่คดี หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจง เพื่อหาคำตอบหรือเพื่อวินิจฉัยพฤติกรรมของบุคคลหนึ่งในเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเรียกว่าการปรับใช้บทกฎหมาย การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพราะอาจตีความผิด หรือนำเอาบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นมาใช้ โดยลืมนึกถึงส่วนที่เป็นหลักเมืองหรือนำเอาส่วนที่เป็นหลักมาใช้ โดยไม่รู้ว่าเป็นข้อยกเว้น (วิษณุ เครืองาม, 2538)

อย่างไรก็ตามนักบริหารการศึกษาในฐานะผู้รับผิดชอบดำเนินงานให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จะต้องเลือกใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นๆ ซึ่งมีแนวทางพอสรุปได้ ดังนี้

1. ผู้บริหารการศึกษาต้องรู้กฎหมายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตน เข้าใจ และสามารถปรับกฎหมายใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
2. ผู้บริหารการศึกษาต้องมีความสุจริตในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นเจตนาที่ดีในการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดไว้
3. ผู้บริหารการศึกษาต้องถือกฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหารงานไปสู่ความสำเร็จ กฎหมายไม่ใช่สิ่งขัดขวางการปฏิบัติงานดังนั้นผู้บริหารการศึกษาจะต้องเฉลียวฉลาด และมีไหวพริบเพียงพอที่จะใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารและจัดการศึกษาให้ได้

การใช้กฎหมายในการบริหารและจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีความรอบรู้ และเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ มีความสุจริตและมีไหวพริบที่จะใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์อย่างแท้จริง


แหล่งที่มาของบทความ สรุปกฎหมายการศึกษาทำได้ดีมาก สรุปกฎหมายการศึกษา บทความ (kruthaifree.com)